บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
*
อาจารย์แจกกระดาษ A 4 และให้พับให้ได้ 8
ช่อง (การเรียนรู้ที่เราสามารถเรียนรู้ในเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวหรือสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวัน)
-
เรียนเรื่องความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่รอบตัวสามารถนำมาเป็นการนับ
การแยกจำนวน
-
ตัวเลขบอกให้รู้จักการสังเกต การจับคู่ การเปรียบเทียบ
-
การจัดลำดับ จากสิ่งที่ที่มีน้อยไปหาของที่มีมากกว่า
-
ตัวเลขเป็นตัวกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพที่เด็กควรได้รับอย่างเหมาะสม
กิจกรรมการศึกษา
*
เค้กได้บอกถึงเรื่อง ส่วนสูงของเค้ก ว่าเค้กนั้นมีกี่ปอนด์
จึงทำให้ความสูงของเค้กนั้นไม่เท่ากัน
*
เค้กได้บอกถึงเรื่องจำนวนของเทียนที่ทำให้ได้รู้ถึงจำนวนเทียน
เด็กจะได้นับเทียน และยังสามารถรู้อายุของตนเองโดยใช้เทียนเป็นตัวแทน
*เค้กจะแบ่งหรือใส่ไว้ในกล่อง จะทำให้เด็กได้รู้จำนวนกล่อง
และรู้รูปทรงของกล่อง หรือมุมกล่องว่ามีกี่มุม
กิจกรรมร้องเพลง
*****
* แต่งเพลงผสมตัวเลข
เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ
แล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดี คุณแม่ คุณพ่อ ไม่รีรอ รีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น
ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก
หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน ซ้ำ*
หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ
พฤหัส ศุกร์ เสาร์ หลั่นลา ลันลา
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1.
การนับ
เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข
อันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีคววามหลากหลาย เช่น การนับตามลำดับ
ตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.
ตัวเลข
เป็นการที่ให้เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ให้เด็กได้เล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับ และคัดเอง
โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า หรือ
น้อยกว่า เป็นต้น
3.
การจับคู่
เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน หรือ
ประเภทเดียวกัน คู่กัน
4.
การจัดประเภท
เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ
ของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกัน และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆได้
5.
การเปรียบเทียบ
เด็กจะต้องมีการสืบเสาะ และอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือมากกว่า
รู้จักใช้คำศัพท์ เช่นยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า เป็นต้น
6.
การจัดลำดับ
เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง
ที่มีความยาวไปเท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว
7.
รูปทรงและเนื้อที่
นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก
ตื้นกว้างและแคบ
8.
การวัด
มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนัก
และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด การให้เด็กได้ฝึกฝน
การเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
การนำไปประยุกต์ใช้
· รู้จักการทำกิจกรรมกับเด็กแบบแบ่งกลุ่ม
และตั้งเป็นเกณฑ์ในการทำกิจกรรม เช่น
การจัดกิจกรรมมาโรงเรียนนำไปใช้กับเด็กว่าใครมา ก่อน 08:00 น. หลัง 08:00 น. หรือ มา 08:00 น. ตรง เด็กก็จะได้รู้จักการสังเกตตัวเลข การเรียงลำดับว่าใครมาก่อน มาหลัง รู้จักเวลา
และสามารถไปดูหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
· รู้จักการส่งของแบบนับจำนวนกระดาษด้วยจำนวนนักเรียน
และให้เด็กได้ส่งกระดาษต่อๆกันเป็นแถวเพื่อทำกิจกรรมก็ได้
และยังเป็นการเช็คหรือนับเด็กว่ามาเรียนครบหรือไม่
ตัวเด็กเองก็ได้รู้จักการนับกระดาษหากกระดาษเหลือคุณครูก็จะบอกว่ามีเพื่อนไม่ได้มาเรียนกี่คนเด็กก็จะรู้ทันที
· รู้จักการร้องเพลงและสามารถนำไปใช้กับเด็กก่อนทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อเด็กจะได้สนใจในการทำกิจกรรมและไม่เกียจตัวเลขเพราะเด็กบางคนอาจไม่ชอบตัวเลขเพราะเค้าคิดว่าตัวเลขอาจเป็นอะไรที่ยากสำหรับเค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น