วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดี ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.20 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
                                                             ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 
-                   อาจารย์พูดถึงรูปแบบ รูปแบบอาจจะเป็นนาฬิกาที่เป็นตัวเลข 1-12 บอกซึ่งตัวเลขจะจัดเวลาเป็นคณิตศาสตร์ หรือ เสียงดนตรี  โด เร มี มี เร โด โด เร มี เร มี เร โด
-                   การเพิ่มจำนวนมากขึ้นไปทีละ 1
-                   สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ที่แทนเวลา เช่น ตี1 ตี2 เป็นต้น
-                   คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช้า กลางวัน เย็น
                                                                       
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในแต่ละวัน
 



 

 
 
 
 
วัสดุที่เหลือใช้สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสื่อ
 
 
 
 
·       ครั้งแรกควรเปิดโอกาสให้อิสระกับเด็กก่อนที่จะเป็นรูปแบบ เช่น ให้เด็กเห็นกล่องยาสีฟันเด็กก็จะได้เรียนรู้ประสบการณ์กับกล่องยาสีฟัน เด็กก็จะลองแกะกล่องยาสีฟันดู แต่เด็กก็จะคิดจากนามธรรมจากที่เห็นและคิดจากรูปธรรม ครูควรที่จะทำเครื่องหมายไว้แต่ละมุมให้เด็กได้รู้ว่ามีสี่มุม
·       ให้เด็กได้ใช้วัสดุเหลือใช้มาทำเป็นรูปทรงต่างๆ
·       ให้เด็กได้มีประสบการณ์จากการสัมผัส ตามอง ลูบคลำ
·       ให้เด็กได้ใช้วัตถุที่เด็กนำมาจากบ้านได้มาวางหรือแปะลงในกระดาษ เด็กก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง
·       ให้เด็กได้รู้จักประดิษฐ์ตามที่ครูบอก เช่น วาดห้องน้ำเด็กก็จะได้เรียนรู้และสัมผัสกับห้องน้ำที่อยู่ที่บ้าน และนำมาวาดลงกระดาษ
 


กิจกรรมคู่ประกอบเป็บรูปทรงต่างๆจากไม้ลูกชิ้นกับดินน้ำมัน





สามเหลี่ยม



 
หกเหลี่ยม






ก่อนกลับอาจารย์ก็ให้ร้องเพลง ซ้าย-ขวา / เพลง ขวดห้าใบ / เพลง บวก-ลบ / เพลง แม่ไก่ออกไข่ / เพลงลูกแมวสิบตัว / เพลง นกกระจิบ

 

ประเมิน
       ตนเอง : ตั้งใจที่จะรับความรู้เป็นอย่างดีในการฟังและตอบคำถามตามที่อาจารย์ถาม สามารถคิดสื่อตามที่อาจารย์บอกและนำกลับมาประดิษฐ์ให้เด็กได้เรียนรู้ต่อไปได้
       เพื่อน : เพื่อนทุกคนต่างมีความคิดที่จะทำไม้ลูกชิ้นให้เป็น สามเหลี่ยม สีเหลี่ยม ตามที่อาจารย์บอก อย่างตั้งใจ และวันนี้เพื่อนบางคนก็ไม่มาเรียนจึงทำให้ลดน้อยลงไปเหลือแค่ 15 คนที่มาเรียน
       อาจารย์ : สามารถนำความรู้มาให้นักศึกษาเรียนรู้ และแนะนำให้กลับไปปฏิบัติใช้จริงเพื่อวันข้างหน้าจะต้องใช้สื่อเพื่อให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างถูกวิธี  และยังบอกอีกด้วยถึงการเขียนหนังสือนั้นควรจะเขียนให้สวยเพราะเด็กปฐมวัยกำลังที่จะเลียนแบบ ถ้าคุณครูเขียนสวยเด็กเค้าก็จะทำตามแบบคุณครู
การนำไปประยุกต์ใช้
-                  นำไปใช้กับการจัดประสบการณ์หรือบูรนาการที่เกี่ยวของกับเด็กปฐมวัยทางด้านคณิตศาสตร์
-                  นำไปใช้การจัดรูปแบบ ก่อนจะให้เด็กรู้นั้นควรให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างอิสระมิเช่นนั้นเด็กอาจจะไม่เข้าใจ และเด็กก็จะไม่ชอบเพราะกลัวว่าจะทำไม่ได้
-                  นำไปใช้จัดการเรียนรู้ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดเราต้องนำความรู้ที่ได้และเก็บวัสดุสิ่งของที่มีอยู่ตามท้องถิ่นสามารถนำมาประดิษฐ์ให้เป็นสื่อเพื่อเกิดประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

5 ธันว่าคม

 
วัน พฤหัสบดี ที่ 4 ธันว่าคม พ.ศ.2556
 
 
 
 
 

เรียนครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 
*   อาจารย์ได้บอกถึงการทำ blog ว่าเข้าไปหน้าแรกควรเห็นอะไรเป็นอันดับแรก ควรจัดสี blog ไม่ให้แจ่มเกินไปเพราะอาจจะอ่านเนื้อหาไม่ครบเพราะสีนั้นแสบตาเกินไป

  *   อาจารย์ให้ใบงานทุกคนจากนั้นจับคู่ และออกมาสรุปสาระหน้าชั้น ว่าทำกิจกรรมอะไรบ้าง ขั้นตอน เหมาะกับเด็กอย่างไร 
 
สาระที่ 1 จำนวน และการดำเนินการ
           - จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
           - จำนวนนับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9   เป็นจำนวนนับเพิ่มทีละ 1
           -  0 ไม่ใช่จำนวนนับ
           - ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
           -สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ใระบบฐาน 10 มี 10 ตัวเลข
                  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9  ( เป็นตัวเลขฮินดูอารบิก )
                   o ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙  ( เป็นตัวเลขไทย )

อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
          - จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใด
อย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
       การเรียงลำดับจากจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
          - การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
          - ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
          -การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
          -การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่ม
 


*    อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 และบอกโจทย์ว่าวาดสัตว์อะไรก็ได้แต่ต้องมีขา จะ,uกี่ขาก็ได้
 
 
 
สัตว์ที่ดิฉันและเพื่อนๆวาด
 


 

เพลงเข้าแถว

เข้าแถว เข้าแถว       อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามั่วเชเชือน        เดินตามเพื่อนให้ทัน

ระวังเดินชนกัน      เข้าแถวพลันว่องไว้


เพลงจัดแถว

สองมือเราชูตรง          แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า      แล้วเอาลงมาในท่ายืนตรง

เพลงซ้าย ขวา


ยืนให้ตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแผละ

แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ

 

เพลงพาเหรดตัวเลข

มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน

1 2 3 4 5 6 7 8 9 และก็10

ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย ชูมือขึ้นข้างบน

หมุนมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย

มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (ซ้ำ)

คำร้อง ทำนอง ดร.สุภาพร เทพยสุพรรณ  ดร.แพง ชินวงศ์
 
ประเมิน
           
ตนเอง : ได้รับความรู้มากมายจากการนำเสนอกิจกรรมของเพื่อน และคำชี้แนะจากอาจารย์ ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยในทางคณิตศาสตร์
 
เพื่อน : เพื่อนทุกคนก็ต่างตั้งใจฟังของเพื่อนที่ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนและไม่ส่งเสียงเสียงดังรบกวนเพื่อนที่ออกมานำเสนอ ทุกคนต่างมีความคิดที่ดีและเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย แต่บางคนก็อาจจะจัดหรือคิดกิจกรรมที่ซับซ้อนยากเกินไปสำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ : ได้ให้คำชี้แนะแต่ละกลุ่ม การปรับเนื้อหาในการจัดกิจกรรมอาจจะต้องชัดเจนมากขึ้น เช่น อาจจะให้เด็กนั้นสมมุติว่าตัวเองเป็นสัตว์ในการเล่านิทานแล้วให้เด็กทำเสียงนั้นตามที่คุณครูบอก และเด็กที่อาจจะยังไม่เคยเห็นของจริง เช่น ส้ม ครูก็ต้องมีของจริงให้เด็กนั้น เห็น จับ ดม ชิม เป็นต้น แต่ถ้ายังไม่มีก็อาจจะเป็นภาพเพื่อให้เด็กได้รู้ไว้ก่อน และบอกว่าวันพรุ่งเดียวครูจะเอาของจริงมาให้ดู



วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
* อาจารย์แจกกระดาษ A 4 และให้พับให้ได้ 8 ช่อง (การเรียนรู้ที่เราสามารถเรียนรู้ในเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวหรือสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวัน)
 
- เรียนเรื่องความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่รอบตัวสามารถนำมาเป็นการนับ การแยกจำนวน
- ตัวเลขบอกให้รู้จักการสังเกต การจับคู่ การเปรียบเทียบ
- การจัดลำดับ จากสิ่งที่ที่มีน้อยไปหาของที่มีมากกว่า
- ตัวเลขเป็นตัวกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพที่เด็กควรได้รับอย่างเหมาะสม
 
กิจกรรมการศึกษา
 
 
* เค้กได้บอกถึงเรื่อง ส่วนสูงของเค้ก ว่าเค้กนั้นมีกี่ปอนด์ จึงทำให้ความสูงของเค้กนั้นไม่เท่ากัน
* เค้กได้บอกถึงเรื่องจำนวนของเทียนที่ทำให้ได้รู้ถึงจำนวนเทียน เด็กจะได้นับเทียน และยังสามารถรู้อายุของตนเองโดยใช้เทียนเป็นตัวแทน
*เค้กจะแบ่งหรือใส่ไว้ในกล่อง จะทำให้เด็กได้รู้จำนวนกล่อง และรู้รูปทรงของกล่อง หรือมุมกล่องว่ามีกี่มุม
 
กิจกรรมร้องเพลง
*****

* แต่งเพลงผสมตัวเลข
เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ แล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
                                               สวัสดี คุณแม่ คุณพ่อ ไม่รีรอ รีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
 
เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน ซ้ำ* หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
 
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ
พฤหัส ศุกร์ เสาร์ หลั่นลา ลันลา
 
 
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1.            การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข อันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีคววามหลากหลาย เช่น การนับตามลำดับ ตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.            ตัวเลข เป็นการที่ให้เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้เล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับ และคัดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า หรือ น้อยกว่า เป็นต้น
3.            การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน หรือ ประเภทเดียวกัน คู่กัน
4.             การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกัน และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆได้
5.            การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะ และอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่นยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า เป็นต้น
6.            การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไปเท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว
7.            รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้นกว้างและแคบ
8.            การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด การให้เด็กได้ฝึกฝน การเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
 
 
การนำไปประยุกต์ใช้
·       รู้จักการทำกิจกรรมกับเด็กแบบแบ่งกลุ่ม และตั้งเป็นเกณฑ์ในการทำกิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมมาโรงเรียนนำไปใช้กับเด็กว่าใครมา ก่อน 08:00 น. หลัง 08:00 น. หรือ มา 08:00 น. ตรง เด็กก็จะได้รู้จักการสังเกตตัวเลข  การเรียงลำดับว่าใครมาก่อน มาหลัง รู้จักเวลา และสามารถไปดูหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
·       รู้จักการส่งของแบบนับจำนวนกระดาษด้วยจำนวนนักเรียน และให้เด็กได้ส่งกระดาษต่อๆกันเป็นแถวเพื่อทำกิจกรรมก็ได้ และยังเป็นการเช็คหรือนับเด็กว่ามาเรียนครบหรือไม่ ตัวเด็กเองก็ได้รู้จักการนับกระดาษหากกระดาษเหลือคุณครูก็จะบอกว่ามีเพื่อนไม่ได้มาเรียนกี่คนเด็กก็จะรู้ทันที
·       รู้จักการร้องเพลงและสามารถนำไปใช้กับเด็กก่อนทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อเด็กจะได้สนใจในการทำกิจกรรมและไม่เกียจตัวเลขเพราะเด็กบางคนอาจไม่ชอบตัวเลขเพราะเค้าคิดว่าตัวเลขอาจเป็นอะไรที่ยากสำหรับเค้า